วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มุกดาหาร พ.อ. ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ เปิดค่ายเยาวชน เรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง





              พ.อ. ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รอง ผอ.รอง รมน.จว.ม.ห.(ท) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการค่ายเด็กและเยาวชนเรียนรู้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร








               ๒๙๐๙๐๐๕๘     พ.อ. ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รอง ผอ.รอง รมน.จว.ม.ห.(ท)  ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร  เปิดโครงการค่ายเด็กและเยาวชนเรียนรู้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดย ร่วมกันปลูกฝัง มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปยังเด็กและเยาวชน ในพื้นที่ ให้ได้เรียนรู้และเข้าใจในวิถีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ









                โครงการจัดขึ้นเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการเรียนรู้ในภาคความรู้พื้นฐาน ภาควิชาการ โดยมี      พ.อ. ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รอง ผอ.รอง รมน.จว.ม.ห.(ท)  เป็นผู้ให้ความรู้  ในส่วนที่สองเป็นการนำกลุ่มเด็กและเยาวชน ไปศึกษานอกสถานที่ยังศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  






พระราชดำริ :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  
แนวพระราชดำริ : 
 
        เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้   พระราชทานพระราชดำริให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยัง และขยายระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังพร้อมทั้งให้พิจารณาขุดสระน้ำประจำไร่นาตามแนวทฤษฎีใหม่
        และเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ซึ่งอยู่ทางฟากจังหวัดมุกดาหารมาเติมให้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพะยังเพื่อขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานได้มากขึ้น
         ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม สรุปความว่าให้รีบดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มายังพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยัง และให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดกับป่าไม้ เพราะหากไม่ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่นั้น ราษฎรก็จะบุกรุกป่าและทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำ ๑ เอ จนหมดและน้ำที่ออกมาก็ให้พิจารณาว่าจะนำไปช่วยพื้นที่ลุ่มน้ำ ๑ เอ ในการบำรุงรักษาป่าให้เกิดความชุ่มชื้นได้มากเพียงใด ตัวอย่างเช่น โครงการลำตะคองพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติยังทำได้เพราะทำแล้ว ได้ประโยชน์มาก
  

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
 




ที่ตั้งของโครงการ :  
 
          อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์    
  
วัตถุประสงค์โครงการ :     
 
         - เมื่อก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแล้วเสร็จจะทำให้พื้นที่ฝั่งโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยัง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่รับประโยชน์ ๔,๖๐๐ไร่ เมื่อได้น้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจะเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ได้อีก ๑๒,๐๐๐ ไร่ รวมพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมด ๑๖,๖๐๐ ไร่
         - เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชในเขตชลประทาน หมู่ที่ ๕,,,๑๐,๑๔,๑๑๕,๑๖ ตำบลสงเปลือย ได้แก่ ข้าวโพด ๗๐ ไร่ ยาสูบเตอร์กิส ๕ ไร่ ถั่วลิสง ๔๐ ไร่ กระเทียม ๕ ไร่ ฟักทอง ๓ ไร่ บวบ ๒ ไร่ ถั่วฝักยาว ๒ ไร่ ถั่วพุ่ม ๒ ไร่ รวมพื้นที่ ๑๔๔ ไร่ เกษตรกร ๔๘ ราย มูลค่าผลผลิต ๕๒๗,๐๕๖ บาท
         - ส่งเสริมการผลิตข้าวชุมชน (ข้าวเหนียวกอเดียว) ในพื้นที่ หมู่ที่ ๒,,,๑๒ ตำบลสงเปลือย ๑๒๖ ราย พื้นที่ ๑,๐๐๐ ไร่ และหมู่ ๕ ตำบลคุ้มเก่า ๔๔ ราย พื้นที่ ๓๐๐ ไร่
         - ส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิชุมชน ในพื้นที่เกษตรกรหมู่ที่ ๔,,๘ ตำบลสงเปลือย ๙๐ ราย พื้นที่ ๗๕๐ ไร่ หมู่ที่ ๕ ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ ๓๐ ราย ๒๕๐ ไร่ รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ราย ๑,๐๐๐ ไร่

         - ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในโรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตามโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตการเกษตร ๓ แห่ง ได้แก่ ตำบลสงเปลือย ตำบลหนองผือ ตำบลกุดปลาเค้า สามารถผลิตปุ๋ยได้โรงงานละ ๑๐๐ ตันต่อปี เพื่อสนับสนุนการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ






หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :    
 
        -    สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานกปร.)
 
        -    กรมชลประทาน
                         
ผู้ได้รับประโยชน์ : -
      ๑.   เตรียมการจัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการน้ำข้ามลุ่มน้ำระหว่างลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยัง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการทั้งฝั่งจังหวัดมุกดาหารและฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และเพื่อให้การบริหารจัดการผันน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด
     ๒.   จัดตั้งศูนย์บริการและประสานงานโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีบุคลากรด้านการเกษตรประจำศูนย์เพื่อบริหารราษฎรประจำในพื้นที่
     ๓.   ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรและส่งเสริมด้านการตลาด
     ๔.   มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้สู่ราษฎร โดยให้ประสานปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนนำในการขยายผลการมีส่วนร่วมในชุมชน
  
ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ  
 
          เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อธิปดีกรมชลประทานและเลขาธิการ กปร. นำคณะเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและ กปร. เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงานความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  ให้กรมชลประทานดำเนินการ ดังนี้
    ๑) ให้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร มาส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ของกรมป่าไม้น้อยที่สุด และหากการก่อสร้างไปทำให้พื้นที่ของกรมป่าไม้เสียหาย ให้ทำการเพาะปลูกทดแทนให้กรมป่าไม้ด้วย
    ๒) ระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ที่จะส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ให้พิจารณารูปแบบใหม่ที่ประหยัดกว่านี้ เนื่องจากส่งน้ำให้พื้นที่ได้เป็นพื้นที่แคบ ๆ ขนานไปกับลำห้วยไผ่เท่านั้น เช่นทำเป็นฝายทดน้ำแบบถูก ๆ เป็นช่วง ๆ ในลำห้วยไผ่  และปล่อยน้ำริน ๆ จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงมาเติมหน้าฝายแทน
    ๓) ให้ยกระดับเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เก็บน้ำได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในบริเวณนี้ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่เลย เมื่อยกระดับเก็บกักขึ้นแล้วหากปริมาณน้ำไม่เต็มอ่างฯ ให้พิจารณาต่อท่อผันน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มาเติมให้เต็ม ถ้าสามรถต่อท่อมาได้



 

ความสำเร็จของโครงการ :  
 
       นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานกปร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ที่อำเภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์ และได้ทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศลำพะยัง ที่บ้านกุดตอแก่น  ทรงเห็นชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากินของราษฎรที่แร้นแค้นและยากลำบาก เพราะพื้นที่นี้ไม่มีระบบชลประทาน และได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน
      ต่อมาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538  ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำ พร้อมก่อสร้างระบบส่งน้ำสู่ไร่นาของเกษตรกร  เพื่อผันน้ำบางส่วนจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร สนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มากขึ้น
      ทั้งนี้อุโมงค์ผันน้ำสู่ลุ่มน้ำลำพะยัง เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2546 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2551 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร จากฝั่งจังหวัดมุกดาหาร ลอดใต้ภูเขาภูบักดี มายังฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์รวมระยะทางประมาณ 710 เมตร โดยพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ไร่ ของตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง ซึ่งเกษตรกรสามารถนำน้ำจากระบบผันน้ำลงมาเติมในสระของตนสำหรับทำการเพาะปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต และปรับพื้นที่เกษตรกรรมจากการปลูพืชเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืชได้หลากหลาย เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง นำไปสู่ความมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต อุโมงค์ผันน้ำนี้จะนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร มาใช้ในพื้นที่การเกษตรที่ ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ มีพื้นที่รับผลประโยชน์ประมาณ 12,000 ไร่” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว
       เลขาธิการ กปร.  เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในการนี้ สำนักงาน กปร. มีหนังสือขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา  ขอพระราชทานชื่ออุโมงค์ผันน้ำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเป็นสิริมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า ลำพะยังภูมิพัฒน์”  ซึ่ง ลำพะยัง” คือ ชื่อโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์  ภูมิ” หมายถึงแผ่นดิน และ พัฒน์” คือ ความเจริญก้าวหน้าพัฒนา รวมหมายถึง อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง ซึ่งชื่อพระราชทานนี้สร้างความปลื้มปีติเป็นล้นพ้นแก่พสกนิกรชาวกาฬสินธุ์เป็นอย่างยิ่ง
      “นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งต่อเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่จะมีระบบการจัดสรรน้ำอย่างถูกวิธี เพื่อจัดทำแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร และในอนาคตโครงการทฤษฎีใหม่ในพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จะเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรทั่วประเทศได้พัฒนาความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่จะให้ความเป็นอยู่ที่พอเพียงแก่พสกนิกรชาวไทย ทุกหมู่เหล่า” เลขาธิการ กปร. กล่าว
  
ที่มาของข้อมูล :  
 
       -   สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(สำนักงานกปร.)
 
ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
       -   สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(สำนักงานกปร.)
 
       -  กรมชลประทาน


อำนวย  เดชทองคำ  ผู้สื่อข่าวพิเศษ  จ.มุกดาหาร

เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น