สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.นำสื่อมวลชนลงพิ้นที่ดูงานวิจัยการจัดการทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จังหวัดระยอง หวังขยายองค์ความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำประมงปูม้าขนาดเล็ก
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปูม้าเป็นทรัพยากรทางทะเลที่มีค่าทางเศรษฐกิจของไทย แต่ด้วยปัจจัยผลกระทบหลายอย่าง ส่งผลให้ปูม้าลดจำนวนลงเรื่อย ๆ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะล การใช้อวนตาถี่จับสัตว์น้ำ การจับปูขนาดเล็ก เป็นต้น อีกทั้งมีการนำปูม้าไปใช้ประโยชน์มากขึ้น จนทำให้ปูม้ามีขนาดเล็กลง และอาจมีผลกระทบกับอาชีพการทำประมงปูม้าในอนาคต ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของพื้นที่ที่ วช.ให้ความสำคัญ และส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2559 ให้แก่คณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มีผลวิจัยด้านทรัพยากรปูม้า เพื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้การอนุรักษ์ปูม้าบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่หน่วยงานในพื้นที่และชุมชนประมงเรือเล็ก บริเวณอ่าวเพ จังหวัดระยอง โดยดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ให้มีโอกาสพบปะและเห็นผลการทำงานของนักวิจัยกับกลุ่มประมงเรือเล็กและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพกว้าง ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2560
รองเลขาธิการ วช. ขอให้สื่อมวลชนช่วยเป็นสื่อกลางเผยแพร่การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยขยายองค์ความรู้การอนุรักษ์ปูม้าของประมงเรือเล็ก เพื่อเพิ่มปริมาณและมูลค่าปูม้า พร้อมฝากกรมประมงขยายต่อนโยบายการจัดการความรู้ไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อเดินหน้าอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ ด้านผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วที่ทะเลระยอง ทำให้เห็น ถึงผลกระทบต่ออาชีพประมงเรือเล็ก จึงหาความร่วมมือจากกลุ่มประมงที่พร้อมและยินดีเข้าร่วมงานวิจัยฯ จนเกิดการอนุรักษ์ปูม้าโดยการบริหารจัดการตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบตามสภาพพื้นที่ คือ การสลัดไข่บนฝั่ง การสลัดไข่ตามธรรมชาติในกระชังชายฝั่ง และการสลัดไข่ตามธรรมชาติในกระชังลอยทะเล
พร้อมทั้งต่อยอดกิจกรรมเพิ่มปริมาณปูม้า โดยจัดตั้งธนาคารปูม้า จัดเขตปลอดการทำประมง และจัดการองค์ความรู้เผยแพร่กิจกรรม ซึ่งจะมีการประเมินผลหลังทำกิจกรรมอีกครั้ง เนื่องจากความยั่งยืนของโครงการคือผลที่เกิดจากงานวิจัย อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงปูม้าที่เข้าร่วมงานวิจัย มองว่าผลสำเร็จในการจัดการทรัพยากรปูม้า คือจิตสำนึกของชาวประมง และการผลักดันให้ไปสู่การปฏิบัติได้จริงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
จำนงค์ ศรัณยพิพัฒน์ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ วช.
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น