สุพรรณบุรี รมช.ศึกษา เปิดประชุมสัมมนาโรงเรียนแกนนำการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมวาสิฏฐี จ.สุพรรณบุรี พล.ท. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดสัมมนาโรงเรียนแกนนำจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยมี ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกล โดยรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พร้อมคณะได้เดินทางมาเยี่ยมสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ซึ่งได้จัดทำโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเฉลิมพระเกียรติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหา การขาดแคลนครู วัสดุอุปกรณ์ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อสร้างโอกาสและ ความเท่าเทียมกัน พบว่าผลการใช้การเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียมดังกล่าว ทำให้นักเรียน มีผลการเรียนดีขึ้น ผลการสอบ NT และ O-Net สูงขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบก่อนเริ่มโครงการ และนักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเอง ในขณะที่ครูได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการสอนโดยนำแบบอย่างของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมาเป็นต้นแบบ
พลโทสุรเชษฐ์ กล่าวว่าโรงเรียนแกนนำโครงการขยายผลการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมซึ่งเป็นหลักสูตรหนึ่งที่สำคัญต่อการขยายผลโครงการต่างๆ โครงการขยายผลนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้อนุมัติเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อที่จะขยายผลการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวลที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานพระราชดำริไว้เมื่อ 19 ปีที่แล้วได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและทาง คสช. เล็งเห็นว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่จะแก้ปัญหาสำคัญของการศึกษาคือ โรงเรียนขนาดเล็กที่ห่างไกลจะมีปัญหาขาดแคลนบุคลากรครูในการเรียนการสอน
ท่านหัวหน้า คสช. ได้เล็งเห็นว่าให้นำเข้ามาพิจารณาเพื่อจะแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญ ซึ่งคณะนั้นผมดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้รับมอบหมายได้ศึกษาข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มูลนิธิวังไกลกังวลได้ศึกษาข้อมูลจนสรุปได้ว่าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 เป็นเขตพื้นที่ ดำเนินการมาอย่างเข้มแข็ง 3-4 ปีที่ผ่านและมีผลการประเมินที่เด่นชัด ระดับผลการสอบNT O-NET ได้ระดับสูงกว่ามาตรฐาน
จึงมาศึกษาดูงานและนำไปเขียนโครงการและได้รับอนุมัติจากที่ประชุม คสช. เมื่อเดือนกรกฎาคมและได้รีบดำเนินการ โดยได้อนุมัติงบประมาณจำนวนมากให้ไปขยายผลกับทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่สำนักงานการศึกษาทั้งหมดประมาณ 15, 000 โรงเรียนคือ การสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้ครบสมบูรณ์ การอบรมบุคลากรให้สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ให้ได้ผลโดยสมบูรณ์ ซึ่งทาง คสช.ได้พิจารณาว่าคุณภาพการศึกษาต้องพัฒนาด้วยหลายๆประการครู และต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความทันสมัยจึงออกมาเป็นรูปแบบของโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีและจะไม่กำหนดว่าเป็นแบบเดียวกันทั้งหมดทุกโรงเรียนจะอยู่ที่ข้อมูลการสำรวจว่าแต่ละโรงเรียนมีปัจจัยขาดแคลนอะไรและคำนึงถึงความเหมาะสม
ส่วนที่สำคัญคือบุคลากรครูจะต้องเข้าใจและนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานบันและการศึกษามากที่สุด ใช้งบประมาณอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้มากที่สุดซึ่งตอนนี้กำลังจัดแจงอุปกรณ์ให้โรงเรียนต่างๆในพื้นที่ห่างไกล อบรมบุคลากรครูทั้งต้นทางสัญญาณและปลายทาง มีการทดสอบระบบสัญญาณในช่วงปิดเทอมและเริ่มใช้งานจริงในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 วัตถุประสงค์ที่ทาง คสช. จึงพยายามทำโครงการนี้ให้สมบูรณ์สำคัญที่สุดที่เขียนโครงการและน้อมนำที่จะถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเพื่อจะเถิดพระเกียรติที่ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมา 19 ปี
เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล บรรณาธิการข่าวท้องถิ่น อู่ทองนิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น