วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไหว้พระธาตุ 9 จอม แดนล้านนา กับ ศรุดาธรรมทัวร์



  ไหว้พระธาตุ 9 จอม แดนล้านนา ภายใน 1 วัน กับ ศรุดาธรรมทัวร์
   
           ชมวัดร่องขุ่น-สัการะพระแก้ว-วัดพระสิงห์-ไหว้พ่อขุน พญามังราย -ดอยตุง-ตักบาตรพระขี่ม้า-พระธาตุดอยเวา-ช้อบแม่สาย 2 คืน 3 วัน พร้อมร่วมห่มผ้าสักการะพระธาตุทั้ง9จอม ( ท่านใดประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพผ้าห่มพระธาตุจอมไหน แจ้งได้ค่ะ หรือร่วม ปัจจัยที่ได้นำถวายให้แก่วัดแต่ละจอมที่ทุกท่านได้ห่มผ้าสักการะค่ะ


   วัดร่องขุ่น  http://www.watrongkhun.org/อัลบั้มภาพ


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร - วิกิพีเดีย


    



          เดินทาง 3 - 5 มกราคม 2558   สายการบิน nokair 

ราคา 13,900 บาท


            รับจัดกรุ๊ปอย่างน้อย 16 ท่านขึ้นไปนะคะ ( ระบุวันได้ค่ะ ) tel : 0814909229 /  id line : saruda30

พระธาตุเก้าจอม จังหวัดเชียงราย

ตำนานบูชาพระธาตุเก้าจอม

     พระธาตุ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา

     ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล “อยู่เย็นเป็นสุข” หรือ ตามคติล้านนาว่า “อยู่ดีกินหวาน” ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

     พระธาตุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชนมักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่ง สุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือ พาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้วบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก

     พระธาตุเก้าจอม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนต่างๆ ของพระวรกายโดยแท้ มีประวัติตำนานกล่าวขานที่เป็นพุทธมงคลรวมทั้งนามที่ตั้งก็เป็นมงคลนาม ผู้ที่ได้สักการะพระธาตุครบทั้งเก้าจอมจะถือว่าน้อมรับมงคลอันยิ่งใหญ่และสิ่งงดงามมาสู่ชีวิตของตนเองและบริวาร

พระธาตุเก้าจอม ประกอบด้วย

     • พระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่ที่ วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมหมอกแก้ว ตั้งอยู่ที่ วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมผ่อ ตั้งอยู่ที่ วัดอรัญญวิเวกคีรี (จอมผ่อ) บ้านดง-หล่ายหน้า หมู่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมแจ้ง ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมแว่ ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมจ้อ ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมจันทร์ ตั้งอยู่ที่ วัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
     • พระธาตุจอมสัก ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมกิตติ
ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๕- o๕๓๔ มีพระครูวิกรมสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ
          ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกองค์ที่ ๒๔ คือ พระเจ้าพังคราช พร้อมด้วยโอรส คือ พระเจ้าพรมมหาราช ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระเจ้าชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รวม ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชจึงทรงโปรดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ ขนาดเล็กอีก ๒ องค์ ประธานแก่พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนาราย์ ซึ่งพระยาเรือนแก้วได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานไว้ ณ. ดอยจอมทองที่เหลืออีก ๑๑ องค์ ทรงโปรดให้นำพระโกศแก้ว พระโกศเงิน มารองรับพระบรมธาตุ พระราชทานให้พระเจ้าพรหมมหาราชนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติที่พระเจ้าสิงหนวัตนิ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกได้เคยบรรจุพระบรมสารีริธาตุ ทั้ง ๑๑ไว้ด้วยกัน ในปี ๑๔๘๓ ในระยะต่อมาเจดีย์พระธาตุทรุดโทรมมากเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เจ้าเมืองเชียงแสน ได้ร่วมกับศรัทธาชาวเมืองบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งในปี ๒๒๓๗

การเดินทาง
          จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๒o ผ่านอำเภอพญาเม็งรายใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๔ ผ่านปากทางเข้าน้ำตกตากควัน บ้ายไชยพัฒนา เข้าเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๙๘ ผ่านบ้านเนินสมบูรณ์ ปากทางแยกเข้าอำเภอเวียงชัย ปากทาง เข้ากิ่งอำเภอดอยหลวง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๗๑ มุ่งตรงสู่อำเภอเชียงแสน ผ่านวัดพระธาตุผาเงา เข้าถนน บายพาส เข้าถนนเชียงราย – เชียงแสนไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงทางเข้าพระธาตุจอมกิตติ ฝั่งซ้ายมือรวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑๗ กิโลเมตร

ความเชื่อ
          ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมกิตติเชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะอุดมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ลาภยศผู้คนสรรเสริญ เจ้าคนนายคน

คำบูชาพระธาตุจอมกิตติ          อะหัง วันทามิ ปะระมะสารีริกกะธาตุโย
          กะกุสันธัสสะ จะโกนาคะ นะมัสสะจะ
          กัสสะธัสสะ จะสะมะนะโกตะมัสสะ เจวะ
          นิพานนะ ปัจจะโย โหตุ

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมแว่
ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทร. o -๕๓๗๒- ๑๘๒๑ มีพระครูพิมล พิพัมนคุณเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ
          ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในราว จ.ศ. ๖๕๖ (พ.ศ. ๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง จากนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวใน เดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีการเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ. ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘o ) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้ร่วมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณาพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม แล้วบรรจุพระมหาชินธาตุเอาไว้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ

การเดินทาง
          จากอำเภอแม่สรวยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ ย้อนกลับไปที่ทางแยกเชียงราย – แม่สรวย อำเภอแม่ลาวเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ถนน เชียงราย – พะเยา มุ่งสู่อำเภอพานข้ามสะพานข้ามแม่น้ำลาว ผ่านบ่อน้ำพุร้อนห้วยทรายขาว เข้าเขตอำเภอพาน เลี้ยวขวาเข้าถนนสายในตรงแยกวัดไชยมงคล เข้าไปประมาณ ๓oo เมตรจะพบทางเข้าพระธาตุจอมแว่ฝั่งขวามือ รวมรายการทั้งสิ้นประมาณ ๔๙ กิโลเมตร

ความเชื่อ
          ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแว่
               - ความหมายนัยยะที่ 1 แว่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า แวะถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง
               - ความหมายนัยยะที่ 2 แว่ เปรียบเหมือนเสียงเริ่มพูด เริ่มเจรจา ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ

คำบูชาพระธาตุ
          อะหัง วันทามิ มหาชินะ เกศา ธาตุโย
          พุทธรูปัง โคตมัง อะหัง วันทามิ

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมจ้อ
ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๖- ๖๔๔๙ มีพระมหาชูศักดิ์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ
           พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้านภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง มีพญานาคตนหนึ่ง รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ ๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลางดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ ทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ

การเดินทาง
           ออกจากอำเภอพานใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางใต้แยกพาน – ป่าแดด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๘๑ ผ่านสันมะเค็ด ป่าแงะ ถ้าผาจรุย จนถึงสามแยกเชียงเคี่ยน เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีเชียงราย – เทิง ผ่านยศรีดอนชัย ปล้อง เข้าสู่อำเภอเมืองผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเทิง โรงพยาบาลเทิง และวัดพระศรีมหาโพธิ์ ข้ามสะพานแม่น้ำอิงอีก ๒๕o เมตร จะถึงปากทางเข้าพระธาตุจอมจ้อ ต้องขับรถขึ้นดอยอีกประมาณ ๓oo เมตร รวมราการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร
ความเชื่อ
          
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมจ้อ จ้อ หมายถึง พูดดี พูดเก่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่งความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ

คำบูชาพระธาตุจอมจ้อ
           นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
           อะหัง วันทามิ ธาตุโย เกสาธาตุ มานะธาตุ
           อิมัสสะหมิง ปติฏฏัง อุตะระ ปัพพัตตัง อะหัง วันทามิสิระสา (กล่าว 3 จบ)

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมจันทร์
ตั้งอยู่ที่ วัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๗-๒๑๒๙ มีพระมหายงยุทธเป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ
           พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยเห็นนิมิตในคืนหนึ่ง เป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสว่างไสวระยิบระยับสีเขียวบนดอยที่ตั้งขององค์พระธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนยอดดอยแห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าดอยแห่งนี้มีคูล้อมรอบ โดยการขุดของคนโบราณ ซึ่งไม่ติดกับดอยลูกใดเลยในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงได้ก่อสร้างกุฏิ วิหาร และศาลาตามลำดับ ตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดพระธาตุจอมจันทร์ มีภิกษุจำพรรษาติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘o ได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฏิจนหมด คงเหลือไว้แต่พระเจดีย์และวิหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง อยู่ห่างจากวัดเดิม ๓oo เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้าสงตั้งแต่นั้นมา จนถึงปี ๒๕๔๒ จึงได้มีการบุรณะขึ้นมาใหม่ โดยพระมหายงยุทธ เทวธัมโม พร้อมคณะศรัทธา

การเดินทาง
           ออกจากอำเภอเชียงแสนใช้ถนนสายเชียงราย-เชียงแสน (ทางหลวงหมายเลข ๑o๑๖) มุ่งสู่อำเภอแม่จัน ผ่านอำเภอจันจว้า ตำบลจอมสวรรค์ และตำบลสันทราย ถึงปากทางเข้าอำเภอจอมจันทร์ รวมระยะทางประมาณ ๓o กิโลเมตร

ความเชื่อ
           ในการไหว้ พระธาตุจอมจันทร์ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานผิวพรรณสวยงามเปล่งปลั่งรัศมีดุจแสงจันทร์งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้

คำบูชาพระธาตุจอมจันทร์
           อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง วะระสัญญิตัง
           อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิธะปัพะเต
           ปะติฏฐิตา เอตนะ มะมะปุญญานุพาเวนะ
           สะทาโสตถี ภะวันตุเต

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมทอง

ตั้งอยู่ที่ วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o-๕๓๗๑ - ๖o๕๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ
          พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

การเดินทาง
          จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง

ความเชื่อ
          ในการไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เชื่อกันว่า ถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะมีทรัพย์สินเงินทอง

คำบูชาพระธาตุจอมทอง
          วันทามิ เจติยัง สัมพัฏฐาเนสุ ปติฏฐิตา สรีระธาตุ มหาโพธิง พุทธะรูปัง สกลังสทา
          นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะตังเส พรัมมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป
          สรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อรหันตาธาตุ โยเจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสีติ
          ติสะหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ อหังวันทามิ ธาตุโย อหังวันทามิ
          ทูระโต อหังวันทามิ สัพพะโส

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมหมอกแก้ว
ตั้งอยู่ที่ วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๑ -๗๑๖๖ มีพระครูอรุณสวัสดิ์ มุนิวังโส เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ
          พระธาตุจอมหมอกแก้ว ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ๑oo กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่า และได้พบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง และในบริเวณนั้นมีต้นไม้ที่ ชาวเหนือเรียกว่าต้นส้มป่อยอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพญานาค และได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็จะมีอันเป็นไปต่างๆนานา ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าจอมปลวกนั้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของเชื้อพระวงค์ในสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกภายหลัง

การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ ผ่านปากทางไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้าหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้ว

ความเชื่อ
          ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่าอุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้งหลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ

คำบูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว
          อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย
          ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย





พระธาตุจอมผ่อ
ตั้งอยู่ที่ วัดอรัญญวิเวกคีรี (จอมผ่อ) บ้านดง-หล่ายหน้า หมู่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โทร. o-๕๓๗๘- ๑๓๖๓ มีพระครูปฏิภาณธรรมทิ เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ
          ตามหลักฐานเอกสารในทำเนียบการตั้งวัดของจังหวัดเชียงรายระบุว่าได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๓ แต่ยังไม่พบหลักฐานใดอื่นอีก นอกจากหลักฐานทางโบราณวัตถุ เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป กองหินกองอิฐที่สันนิษฐานได้ว่า ตรงนี้เคยเป็นโบสก์เป็นวิหารมาก่อนเท่านั้นจากคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนกล่าวว่า ที่วัดม่อนจอมฝ่อนี้ เดิมมีพระพุทธรูปทองเหลืองทองแดงองค์เล็กองค์ใหญ่จำนวนมาก พิงอยู่ตามต้นไม้บ้าง วางอยู่บนกองอิฐกองดินบ้างไม่มีใครสนใจ เมื่อทางการได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุ ประกอบกับทางวัดไม่มีผู้ดูแลแน่นอน จึงได้เก็บเอาพระพุทธรูปที่เป็นโลหะชนิดต่างๆไปรวบรวมไว้จนหมดไม่เหลือแม้แต่องค์เดียว ในระหว่างการรื้อเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒o ยังพบวัตถุมงคลอีกมากมายพร้อมแผ่นเงินจารึกประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์ที่จานด้วยเหล็กจานเป็นภาษาล้านนา จึงได้มีการบูรณะเรื่อยมา จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๖ และได้จัดให้มีประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุจอมฝ่อขึ้นทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔

การเดินทาง
          จากตำบลจอมหมอกแก้วบนทางหลวงหมายเลข ๑๒๑๑ มาถึงทางแยกเข้าทางหลวงหมายเลข๑๑๘ (ถนนเชียงราย – เชียงใหม่) มุ่งตรงสู่อำเภอเวียงป่าเป้า ผ่านสวนทิพย์วนารีสอรท์ สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า โรงเรียนอนุบาลสันสลีและวัดศรีสุพรรณเข้าซอยฝั่งตรงข้ามวัดประมาร ๒ กิโลเมตร ถึงวัดอรัญวิเวกคีรีอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมฝ่อ รวมระยะการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร

ความเชื่อ
         
ในการไหว้พระธาตุดอยจอมผ่อ ผ่อ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ดูหรือมอง เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานเปรียบเหมือนการลืมตาเจอแสงสว่างในชีวิต

คำบูชาพระธาตุจอมผ่อ          อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง
          วะระสัญญิตัง เอเตนะ มะมะ
          ปุญเญนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย





พระธาตุจอมแจ้ง
ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โทร o- ๕๓๖๕-๖๒๙๗ มีพระครูอดุลสีหวัตรเป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ
          วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี เมื่อปี พ.ศ. ๒oo๑ จึงได้ขอวานตาแก่คนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรม เฝ้ารักษาพระธาตุแห่งนี้ให้ไปตักน้ำที่แม่น้ำซ่วยขึ้นมาล้างหน้า และได้พักอยู่ที่นี่ ๗ วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ตาแก่คนนั้นนำไปบรรจุลงในพระธาตุจนเป็นที่สำเร็จลุล่วงแล้วจึงเดินทางจาริกต่อไป และยังได้ทำนายไว้ว่าสมัยต่อไปข้างหน้านี้ ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ส่วนแม่น้ำซ่วยนั้น ชาวบ้านจะเรียกเปลี่ยนไปว่า “แม่น้ำสรวย” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่ออดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่สรวย และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง ได้เทศนาอบรมประชาชนให้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในองค์พระธาตุแน่นแฟ้นขึ้นจนประชาชนในเขตอำเภอแม่สรวยได้จัดงานบุญประเพณีทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แดละได้แนะนำชักชวนศรัทธาญาติโยมให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างภายในวัดพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองทิพย์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ

การเดินทาง
          จากเวียงป่าเป้า ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ (ถนนเชียงใหม่ – เชียงราย) สู่อำเภอแม่สรวย ผ่านปากทางเข้าโรงงานเชียงรายไวน์เนอร์รี่ ศาลสมเด็จพระนเรศวร, โรงพยาบาลแม่สรวย ข้ามสะพานแม่น้ำลาว ตีนสะพานมีซอยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระธาตุจอมแจ้งอีก ๒oo เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔o กิโลเมตร

ความเชื่อ
          ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแจ้ง เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง
คำบูชาพระธาตุจอมแจ้ง          อิมัสมิง อะรุนุธคะมะเน
          ประภัตตะเคทิตัง ธาตุ เจติยัง
          อะหังวันทามิ สะระสา อะหังวันทามิ สัพพะทา

ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย




พระธาตุจอมสัก
ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗o- ๓๑๙๖ มีพระอธิการอภิเดช เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ
          พระธาตุจอมสักเดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนก องค์ที่ ๒๔ ได้มีพระเถระองค์หนึ่งชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำพระบรทสารีริกธาตุจากประเทศลังกามาถวายพระองค์จำนวน ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชทรงโปรดให้แบ่งพระธาตุออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งประดิษฐานอยู่บนพระธาตุดอยจอมทอง ส่วนที่สองประดิษฐานอยู่บนพระธาตุจอมกิติ และส่วนที่สามนำมาประดิษฐานที่พระธาตุดอยบ้านยาง ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๙o พระครูบาคำหล้า สังวโร ได้เป็นประธานในการบูรณะพระธาตุองค์ใหม่ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เดิมไว้และได้สร้างวิหารเรือไว้สักยกใต้ถุนหลังหนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพระธาตุจอมสักจนถึงทุกวันนี้

การเดินทาง
          จากอำเภอแม่จันใช้ถนนเชียงราย-แม่สาย (ทางหลวงหมายเลข ๑ ) ลงใต้สู่อำเภอเมือง ผ่านตลาดบ้านดู่ ปากทางเข้าท่าอากาศยานเชียงราย ห้างสรรพสินค้าแมคโคร พบยูเทริ์นแรกเลี้ยวขวา เข้าปากทางเข้าพระธาตุจอมสักพอดีเข้าไปอีกประมาณ ๔oo เมตร รวมระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร

ความเชื่อ
          ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมสัก เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้ท่านจะได้รับสิริมงคลสูงสุดและพานพบแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

คำบูชาพระธาตุจอมสัก


          อะระหัง วันทามิ ธาตุโย
          สัพพะฐาเนสุ สุปะฏิ ปะทิตา
          อะระหังวันทามิ สัพพะโส


ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จ.เชียงราย
http://www.tourismchiangrai.com/cr/9jom/index.php

เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น