วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กกต.สุพรรณบุรี ประกาศ สรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ



 นางสายใจ หมั่นฝึกพันธ์  ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ในฐานะ เลขานุการคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดฯ ได้ออกประกาศเชิญชวน นิติบุคคล ( ที่ไม่แสวงหากำไร ) เสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม ถึง วันที่ 2 กันยายน 2557



 นางสายใจ หมั่นฝึกพันธ์ 
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุพรรณบุรี


              "  คืนความสุขประเทศไทย  ราษฎร์รัฐร่วมใจ สรรหาสภาปฏิรูปแห่งชาติ  "  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการฯ ( แจ้งวัฒนะ ) โทรศัพท์ 02-141-8888  หรือ  1171  www.ect.go.th  หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดสุพรรณบุรี ถนนพระพันวษา สุพรรณบุรี  72000  โทรศัพท์ 035-525314-5  ต่อ  112  โทรสาร  035-525314-5  ต่อ 108 , 109  E-Mail : suphan@ect.go.th



              เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผย  โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ. สรรหา สปช. กำหนดไม่เกิน 250 คน เปิดโอกาส นิติบุคคล ส่งชื่อเข้าประกวด ได้ 2 คน ส่วนจังหวัด ให้ เสนอมาจังหวัดละ 5 คน

              พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ประกาศในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 131 ตอนที่ 59 ก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 30 และ มาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 จึงทรงพระกรุณาโปลดเกล้าฯให้ตรา พ.ร.ฎ. ดังต่อไปนี้
              มาตรา 1 พ.ร.ฎ.นี้เรียกว่า พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 มาตรา 2 พ.ร.ฎ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดหมายความร่วมถึง คณะกรรมการสรรหาประจำ กทม.ด้วย มาตรา 4 คณะกรรมการสรรหา ทำหน้าที่สรรหาบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นสมาชิกเป็นสภาปฏิรูปดังนี้ แบ่งเป็น 12 ด้านประกอบด้วย ด้านการเมือง ด้านบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน ด้านสารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน ด้านสังคม ด้านอื่นๆ และ คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดจังหวัดละ 1 คณะ               
              มาตรา 5 ให้คณะกรรมการสรรหา แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสพการเป็นที่ยอมรับ ทำหน้าที่สรรหาบุคคลเสนอต่อ คสช. เพื่อคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยบุคคลใดจะเป็นกรรมการสรรหาเกิน 1 คณะไม่ได้ โดยคณะกรรมการสรรหาจะต้องประชุมเพื่อเลือกกรรมการสรรหาเป็นประธานกรรมการสรรหา โดยให้ประธานกรรมการสรรหาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 1 คนเป็นเลขานุการ
              มาตรา 6 ให้คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดนอกจาก กทม. ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด นายกองค์การบริหารจังหวัด ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลในระดับจังหวัด ของจังหวัดนั้น และ ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เป็นกรรมการสรรหา ถ้าในจังหวัดใดผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้น ให้กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเลือกกันเองเพื่อให้มี 1 คนเป็นกรรมการสรรหา ถ้าในจังหวัดใดมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหลายคน ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดที่มีความอาวุโสสูงสุดเป็นกรรมการสรรหา ส่วนกรรมการสรรหาประจำ กทม. ให้ประกอบด้วย ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อธิบดีผู้พิพากษาศาลแห่ง ปลัด กทม. ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนเขต ในระดับจังหวัดของ กทม. ครั้งล่าสุด และประธานกกต. ประจำกรุงเทพฯ เป็นกรรมการสรรหา โดยกรรมการสรรหาจะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คนอื่นทำแทนไม่ได้
             มาตรา 7 ให้การประชุมและการลงมติเป็นไปตามที่ ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะกำหนด มาตรา 8 ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานเลขานุการ และงานธุรการและค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการสรรหา โดยจะให้มีอำนาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.ฎ. นี้ และให้กรรมการสรรหาได้รับค่าตอบแทน การประชุมครั้งละ 2,000 บาท และให้กรรมการสรรหาซึ่งเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนได้รับค่าพาหนะเหมาจ่าย อีกคนละ 3,000 บาท
             มาตรา 9 ให้ คณะกรรมการสรรหา สรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการเข้าเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะละไม่เกิน 50 คน แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรายชื่อ ส่วนคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด ให้คัดเลือกจากบุคคลที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น จังหวัดละ 5 คน ที่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ มาตรา 10 ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาบุคคลที่เสนอโดยนิติบุคคล ซึ่งไม่แสวงหากำไรจากภาคส่วนต่าง โดยแต่ละนิติบุคคลเสนอได้ไม่เกิน 2 ชื่อ โดยนิติบุคคลที่ต้องการเสนอชื่อ ให้เสนอต่อสำนักงาน กกต. ภายใน 20 วันนับแต่วันที่มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา
            มาตรา 11 ในการเสนอชื่อบุคคลของนิติบุคคลต่างๆ ต้องผ่านเป็นมติของที่ประชุมนิติบุคคลนั้นๆ มาตรา 12 การเสนอชื่อของนิติบุคคลต้องเป็นไปตามที่ กกต. กำหนด โดยต้องมีรายละเอียดและเอกสาร การแสดงตน และหนังสือยืนยอมให้เสนอชื่อของบุคคลนั้นๆ มาตรา 13 ให้เลขาธิการ กกต. ตรวจสอบคุณสมบัตร และลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อแล้วส่งให้คณะกรรมการสรรหาภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด มาตรา 14 ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอบัญชีรายชื่อบุคคลที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอต่อ คสช. ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่พ้นระยะเวลา
            มาตรา 15 เมื่อ คสช. ได้รับบัญชีรายชื่อบุคคลแล้ว จะต้องมีการพิจารณาคัดเลือกบุคคล ที่จะได้เป็นสมาชิสภาปฏิรูปจากบัญชีรายชื่อคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดจังหวัดละ 1 คน โดยการพิจารณาคัดเลือกบุคคล จากบัญชีรายชื่อตามจำนวนที่เป็นสมควรจะต้องไม่เกิน 250 คน ทั้งนี้ให้หัวหน้า คสช.นำรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้บัญชีรายชื่อ เมื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว ให้ประการรายชื่อลงในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 16 หากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติว่างลงให้ คสช. ดำเนินการแต่งตั้งบุคคลที่จะมาแทนตำแหน่งที่ว่างลง มาตรา 17 หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเสนอชื่อ หรือ การสรรหาให้หัวหน้า คสช. เป็นผู้วินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยแล้วให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่มีความจำเป็นให้การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คสช. มีอำนาจประกาศเปลี่ยนแปลงระยะเวลากำหนด ให้ดำเนินการหรืองดเว้น การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เกี่ยวกับการสรรหา ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. นี้ได้ และ มาตรา 18 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พ.ร.ฎ.นี้



           เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น